“รอยัล เอ็นฟิลด์” บิ๊กไบค์แบรนด์อังกฤษ สวย น่าใช้

ตลาด “บิ๊กไบค์” หรือ “มอเตอร์ไซด์รุ่นใหญ่” ในทุกวันนี้คึกคักไม่เบา ชายไทยหลายต่อหลายคนมีไว้เป็นเจ้าของหลายคัน และอีกหลายๆคนก็อยากได้เป็นเจ้าของ และวันนี้หากอยากมี “บิ๊กไบค์” ไปขี่อวดบนท้องถนนสักคัน ลองมาดูมอเตอร์ไซค์แบรนด์ “อังกฤษ” นาม “รอยัล เอ็นฟิลด์” (Royal Enfield) ดูบ้างแล้วคุณจะชอบ!!!

แบรนด์ “รอยัลเอ็นฟิลด์” เป็นแบรนด์ของ บริษัท เอ็นฟิลด์ไซเคิล(The Enfield Cycle Company) บริษัททางด้านวิศวกรรมของประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการผลิตมอเตอร์ไซด์ รวมทั้งยังผลิตรถจักรยาน เครื่องตัดหญ้า เครื่องยนต์แบบตั้งอยู่กับที่ (Stationary Engines) และแม้แต่การผลิตชิ้นส่วนปืนไรเฟิล ส่งให้กับโรงงานผลิตอาวุธขนาดเล็กในเมืองเอ็นฟิลด์ การที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงงานผลิตอาวุธได้สะท้อนออกมาในโลโก้ของบริษัท เป็นรูปปืนใหญ่ และคำขวัญว่า “ผลิตดุจปืน ไปดุจกระสุน” (Made Like a Gun,goes like a bullet) และใช้แบรนด์รอยัลเอ็นฟิลด์ นับตั้งแต่ปี 1890 เป็นต้นมา

ในปี 1955 เอ็นฟิลด์อินเดีย เริ่มประกอบรถรุ่น Bullet ภายใต้ลิขสิทธิชิ้นส่วนจากประเทศอังกฤษและในปี 1962 จึงได้ประกอบรถทั้งคัน บริษัทต้นกำเนิดในเมืองเรดดิทช์ วอร์เซสเตอร์ไชร์ได้ปิดตัวลงในปี 1970 แต่รอยัลเอ็นฟิลด์ในอินเดีย ที่มีฐานผลิตที่เมืองเชนไน ยังคงเปิดดำเนินการต่อมา และซื้อสิทธิแบรนด์ รอยัลเอ็นฟิลด์ในปี 1995 รอยัลเอ็นฟิลด์ยังคงดำเนินการผลิตต่อไปและปัจจุบันนี้ รอยัลเอ็นฟิลด์ถือว่าเป็นโรงงานผลิตมอเตอร์ไซด์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งยังเปิดดำเนินการผลิตอยู่

“วิวัฒนาการของรอยัลเอ็นฟิลด์”
ฮันท์เอ็น ในอิงแลนด์เป็นหมู่บ้านที่มีโรงงานผลิตเข็มและเบ็ดตกปลาขนาดเล็กอยู่มากมาย ในปี 1851 นักธุรกิจชื่อจอร์จ ทาวน์เซ็นด์ ตั้งโรงงานผลิตเข็มขึ้นที่นี่ โรงงานของเขาชื่อ “Girvy Works” หลังจากจอร์จ ทาวน์เซ็นด์ เสียชีวิต ลูกชายจอร์จ จูเนียร์ และญาติได้ซื้อโรงงานแห่งนี้และผลิตจักรยานที่ใช้โครงเหล็ก ล้อไม้คันถีบเป็นไม้ทรงสามเหลี่ยม เป็นรถขับขี่เล่นสนุกๆ แต่จอร์จ จูเนียร์และทีมของเขารู้สึกว่าน่าจะมีการปรับปรุงให้ดีขี้นได้ไม่ยาก ปี 1880 ได้มีการผลิตจักรยาน 2 ล้อ ที่มีขนาดล้อเท่ากัน เป็นจักรยานที่มีความปลอดภัยแบบทันสมัยยุคแรกๆ โรงงานทั้งหลายรวมทั้งโรงงานของจอร์จ จูเนียร์ ก็เข้าร่วมในการผลิตนี้ด้วยเช่นกัน นับเป็นโชคของจอร์จ จูเนียร์ ที่เขาประดิษฐที่นั่งจักรยานที่ใช้ลวดเส้นเดียวขดเป็นสปริง 2 ตัว ซึ่งต่อมาได้จดลิขสิทธิและทำตลาดในชื่อของ Townsen Cyclist Saddle And Spring เขาได้หันไปจับธุรกิอะไหล่รถจักรยานแล้วค่อยๆเริ่มการผลิตจักรยานของตัวเอง จักรยานของเขามีชื่อเสียงในด้านโครงรถมีความแข็งแรงทนทานซึ่งเป็นแบบฉบับของรถเอ็นฟิลด์ในเวลาต่อมา บริษัทเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

ราวปี 1890 ทาวน์เซ็นประสบปัญหาทางการเงิน เขาขอความช่วยเหลือจากนักการเงินในเบอร์มิงแฮม แต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ แต่นักการเงินกลับแต่งตั้งบริษัท R.W. Smith & Albert Eadie เข้ามาควบคุมบริษัทในเดือนพฤศจิกายน ปี1891 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น The Eadie Manufacturing ในไม่ช้า อัลเบริตได้กำไรจากการเซ็นสัญญาการส่งมอบชิ้นส่วนปืนให้กับโรงงานผลิตอาวุธขนาดเล็ก ในเอ็นฟิลด์ แถบมิดเดิ้ลเซ็ก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการลงนามในสัญญาฉบับนี้ สมิทและอัลเบริตจึงตัดสินใจเรียกจักรยานที่ได้รับการออกแบบใหม่ว่า “เอ็นฟิลด์” ได้มีการจัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อทำตลาดจักรยานรุ่นเอ็นฟิลด์ในชื่อว่าบริษัท The Enfield Manufacturing เมื่อเดือนตุลาคม 1892 ปีต่อมาจึงมีการเติมคำว่า Royal เข้ามาหน้าคำ Enfield นั่นคือจุดเริ่มต้นของคำว่า Royal Enfield เครื่องหมายการค้า “ผลิตดุจปืน” จึงปรากฎขึ้นในปี1893

พาหนะเริ่มแรกที่ใช้ชื่อ รอยัล เอ็นฟิลด์ คือรถสี่ล้อ (Quadricycle) ติดตั้งเครื่องยนต์ของDe Dion-Bouton 2.75แรงม้า ซึ่งผลิตในปี 1898 ในปี1901 มีการผลิตรถมอเตอร์ไซด์ขนาด 150 ซีซี 1.5 แรงม้า โดยเครื่องยนต์ตั้งอยู่บนล้อหน้า ในปี 1902 รถแบบเดียวกันนี้ก็ได้ติดตั้งเครื่องยนต์ เอ็นฟิลด์ขนาด239ซีซี 2.75แรงม้า

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทหันไปผลิตรถมอเตอร์ไซด์ป้อนให้กับกองทัพเพื่อใช้ในสงคราม มีรถรุ่นต่างๆหลากหลายรุ่นตั้งแต่รุ่นWD350ซีซี แบบวาวล์ด้านข้าง รุ่น WD/D250ซีซี วาวล์ด้านข้าง รุ่นWD/CO 350ซีซี แบบวาวล์เหนือฝาสูบ(Over head valves) รุ่นWD/L570ซีซี วาล์ด้านข้าง รุ่นที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็หนีไม่พ้นรุ่นเห็บเหิรฟ้า(Flying Flea)หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ลอยมาจากฟากฟ้า(Airborne) รุ่นนี้เป็นรุ่นเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 125ซีซี ใช้ติดร่มชูชีพส่งให้ทางเครื่องบินพร้อมหน่วยพลร่ม นอกจากนี้ บริษัทเอ็นฟิลด์ ไซเคิ้ลได้รับการร้องขอจากกองทัพให้ผลิตเครื่องไม้เครื่องมือพิเศษอีกหลากหลายอย่างเพื่อใช้ในการทำสงคราม ในปี1931 ได้มีการนำเสนอรถรุ่น4วาวล์ ลูกสูบเดี่ยว เครื่องวางเฉียง และตั้งชื่อว่ารุ่น Bullet ในปี1932 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการปรากฏตัวของรุ่นBullet ที่มีชื่อเสียงจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

 


และหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ในปี1947 บริษัทหันกลับมาผลิตรุ่นJ ขนาดเครื่องยนต์ 500 ซีซีอีกครั้ง โดยติดตั้งโช้คอัพหน้าแบบมีแรงหน่วง 2 ทาง(Telescopic) แทนที่โช้คหน้าแบบเก่าก่อนสงคราม(Girder Forks) รุ่นBullet350 สตาร์ทเท้า รุ่นหลังสงครามได้มีการติดตั้งกล่องเก็บของด้านท้าย2ใบเป็นครั้งแรก โช้คหน้าออกแบบใหม่และผลิตโดยรอยัล เอ็นฟิลด์ จึงส่งให้โรงงานที่เร็ดดิทช์อยู่แถวหน้าของการออกแบบรถมอเตอร์ไซด์ รถBullet.รุ่นใหม่ได้นำเสนอความก้าวหน้าอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการติดตั้งระบบรองรับแบบสวิงอาร์มพร้อมโช้คหลังและระบบแรงหน่วงไฮดรอลิคในตัว ในปี1949 รุ่น J2 ก็มีการเปลี่ยนโช้คหน้าเป็นรุ่นใหม่และตามติดมาด้วยการเปลี่ยนโช้คหน้าใหม่ให้กับรุ่น500ในปี1948

สำหรับปัจจุบันในประเทศไทย มีรอยัลเอ็นฟิลด์เข้ามาจำหน่ายหลายรุ่น ได้แก่ Royal Enfield Bullet 500 (Standard) ปี 2015 เครื่องยนต์ 499.00 cc. (4 จังหวะ) , Royal Enfield Classic 500 (Standard) ปี 2015 เครื่องยนต์: 499.00 cc. (4 จังหวะ) , Royal Enfield Classic Chrome (Standard) ปี 2015 เครื่องยนต์: 499.00 cc. (4 จังหวะ) , Royal Enfield Continental GT (Standard) ปี 2015 เครื่องยนต์: 499.00 cc. (4 จังหวะ) และล่าสุด Royal Enfield Himalayan LS410 ปี 2017 เครื่องยนต์: 411.00 cc. (4 จังหวะ (พร้อม Oil-cooler)) Adventure Bigbike

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *