ปวดส้นเท้า!!! สัญญาณเตือน “โรครองช้ำ”

อาการเจ็บปวดจี๊ดขึ้นมาที่ส้นเท้า ในบางครั้งอาจลามไปที่อุ้งเท้าด้วย โดยเฉพาะจะมีอาการปวดมากที่สุดเมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรครองช้ำ แม้จะดูเหมือนโรคนี้ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้

“รศ.นพ.ธนวัฒน์ วะสีนนท์” อาจารย์ประจำหน่วยเท้าและข้อเท้า ภาควิชาออโทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โรครองช้ำหรือโรคที่เกิดจากการบาดเจ็บของเส้นเอ็นฝ่าเท้า ลักษณะอาการจะปวดรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน และดีขึ้นหลังจากเดินสามก้าว หรือกดเจ็บที่ใต้ส้นเท้า ในขณะที่กระดกข้อเท้าขึ้น นอกจากนี้ อาจมีอาการปวดมากขึ้นได้ในช่วงระหว่างวันหรือหลังจากที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน เช่น ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน และเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นก็จะยิ่งมีอาการปวดมากขึ้น แม้จะดูเหมือนโรคนี้ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้

โรครองช้ำอาจเกิดขึ้นได้ในหลายปัจจัยเช่น มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้เมื่อเดิน จะทำให้เกิดแรงกดที่ฝ่าเท้ามาก จนอาจทำให้พังพืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้ มีการยืนติดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นฝ่าเท้ารองรับน้ำหนักกดทับมากกว่าปกติ สวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพเท้า เช่น รองเท้าส้นสูง รองเท้าที่คับแน่น บีบเท้า หรือรองเท้าที่หลวมเกินไป รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า หรือพื้นรองเท้าบางเกินไป มีการใช้งานฝ่าเท้าหรือส้นเท้าที่มากเกินไป เช่น การฝึกวิ่งหักโหม วิ่งระยะไกล มีภาวะเท้าผิดรูป เช่น อุ้งเท้าแบน อุ้งเท้าสูงหรือโก่งมากเกินไป สำหรับจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรครองช้ำ ในระยะเวลา1ปี พบมากถึง 1,000,000 คน 85% รักษาหายโดยไม่ต้องผ่าตัด 80% หายแล้วไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกหากในระยะเวลา 12 เดือน ผู้ที่มีอาการของโรครองช้ำ จำเป็นที่จะต้องอดทนในการรักษาตนเอง งดกิจกรรมที่ต้องมีการกระแทกลงน้ำหนักที่ส้นเท้า เริ่มทำการกายภาพเองที่บ้าน

สำหรับการกายภาพเองที่บ้านมี 3 ท่าด้วยกัน ได้แก่
1.ยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้า นวดพังผืดบริเวณฝ่าเท้าครั้งละ 1 นาที ทำทั้งหมด 3 ครั้ง โดยพัก 30 วินาที ก่อนเริ่มครั้งถัดไป
2.การยืดพังผืดกับกล้ามเนื้อน่องโดยใช้ผ้ายาง โดยการ 1.บิดข้อเท้าเข้าด้านใน 2.แล้วใช้ผ้ายืดสำหรับออกกำลังกายดีงบริเวณฝ่าเท้า 3 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
3.การยันกำแพงยืดกล้ามเนื้อน่องด้านใน โดยการดันกำแพง 1.เหยียดขาข้างที่ปวดไปด้านหลัง 2.บิดข้อเท้าเข้าด้านใน 3.ทำครั้งละ 30 วินาทีทำทั้งหมดสามครั้งโดยพัก 30 วินาที ก่อนเริ่มครั้งถัดไป

นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาอีกหลายรูปแบบเช่น การปรับรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปเท้า การทำกายภาพโดยใช้เครื่องมือทันสมัย การฉีดยาเกร็ดเลือด หากอาการไม่ดีขึ้นภายในเวลา 12 เดือน อาจได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด แม้ว่าโรครองช้ำจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่หากไม่หยุดพักหรือทำการรักษา อาจต้องทนทุกข์ทรมานต่ออาการปวดจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และอาจทำให้อาการอักเสบเรื้อรังยุ่งยากต่อการรักษา อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมได้ที่ หน่วยเท้าและข้อเท้า ภาควิชาออโทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สามรรถติดตามรับชมรายการ สุขภาพดีกับหมอสวนดอก ตอนปวดส้นเท้า สัญญาณเตือน โรครองช้ำ ย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/SuandokGoodHealth2018/videos/663948604233808

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *