อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ร่วมพิธีปิดโครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา
นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วย นายฌอน โอนีลล์ กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมพิธีปิด โครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีรองศาสตราจารย์โรม จิรานุกรม รองอธิการบตี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนับ และผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้อำนวยการโครงการฯ กล่าวรายงาน
โครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมครั้งนี้ ทาง “กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม” หรือ AFCP ได้สนับสนุนทุน 150,000 เหรียญสหรัฐ เพื่ออนุรักษ์เรือนไม้ล้านนาโบราณจำนวน 9 หลัง ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ซึ่งดำเนินการสำเร็จลุล่วงด้วยดี ไปเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา โดยถือเป็นการร่วมสงวนรักษาอดีตเพื่อคนรุ่นใหม่ในอนาคต
สำหรับ กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม หรือ AFCP เป็นโครงการที่สนับสนุนโดยสำนักงานกิจการการศึกษาและวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแสดงถึงความเป็นผู้นำของอเมริกาด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในทั่วโลก ตลอดจนความเคารพที่มีต่อวัฒนธรรมอื่นๆ ตั้งแต่การก่อตั้งโครงการในปี 2544 โครงการ AFOP ได้ช่วยสงวนรักษาสถานที่และวัตถุซึ่งมีความสำคัญทางวัฒนธรรม ตลอดจนการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมในหลากหลายรูปแบบทั่วโลก
โครงการ AFCP ริเริ่มในประเทศไทยเมื่อปี 2544 ด้วยโครงการอนุรักษ์บ้านคำเที่ยง ณ สยามสมาคมในพระบรมราชปถัมภ์ และดำเนินงานต่อเนื่องนับแต่นั้นมา โดยมีตัวอย่างโครงการที่โดดเด่น ได้แก่ โครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังที่วัดบ้านก่อ จังหวัดลำปาง ปี 2549, โครงการอนุรักษ์พื้นฟูและสืบทอดวัฒนธรรมอาข่า จังหวัดเชียงราย ปี 2553, โครงการบันทึกสภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ปี 2544 และโครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ จังหวัดเซียงใหม่ ปี 2562
ทั้งนี้ โครงการ AFCP ที่ใหญ่ที่สุดในไทยและมีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆในโครงการ AFCP ทั่วโลก คือ โครงการฟื้นฟูบูรณะวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างศตวรรษที่ 17 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554 โดยตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา สถานทูตสหรัฐอเมริกาได้มอบทุนสนับสนุนเพื่อบูรณะวัดแห่งนี้ 4 ครั้ง รวมมูลค่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ปีที่ผ่านมาเป็นโอกาสครบรอบ 20 ปีที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำให้ความร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทั่วโลกผ่านโครงการ AFCP ซึ่งให้ทุนสนับสนุนทั้งหมด 20 โครงการในประเทศไทย มูลค่ารวมกว่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินงานภายใต้โครงการ AFCP มีมากกว่าเพียงการบูรณะรักษา แต่ยังกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับการบันทึกจัดเก็บและอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆในไทยได้นำไปปรับใช้เป็นแนวปฏิบัติอีกด้วย
นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “พิธีปิดโครงการในวันนี้ ถือเป็นความสำเร็จความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของไทยอันประเมินค่ามิได้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นภาคีของสหรัฐอเมริกามายาวนาน และการสนับสนุนที่มั่นคงไม่เสื่อมคลายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยให้เราส่งเสริมการศึกษาและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศของเราทั้งสองได้อย่างต่อเนื่องที่ภาคเหนือนี้ สหรัฐอเมริกาได้มอบทุนสนับสนุน 150,000 เหรียญสหรัฐให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมโบราณที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาแห่งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ และคณะนักวิซาการ ช่างฝีมือท้องถิ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทุ่มเททำงานอย่างหนัก เพื่ออนุรักษ์และบูรณะเรือนไม้ล้านนาโบราณจำนวน 9 หลัง ได้แก่ เรือน 7 หลัง และยุ้งข้าว 2 หลัง นอกไปจากการอนุรักษ์ตัวเรือนไม้เหล่านี้แล้ว สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรมยังดำเนินการรวบรวมและสร้างเสริมองค์ความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเรือนด้วย โดยความพยายามดังกล่าวรวมไปถึงการอบรมทั้งแบบในสถานที่ประชุมและทางออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ด้านหัตถกรรมล้นนาโบราณแก่ช่างฝีมือรุ่นใหม่ ตลอดจนการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับภูมิปัญญาสถาบัตยกรรมล้านนาโบราณ ซึ่งจะเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมอย่างเป็นทางการ กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม มีส่วนช่วยการดำเนินการดังกล่าวและเป็นโครงการที่ทำให้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศต่างๆทั่วโลกได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในประเทศที่ประจำอยู่ โครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของไทยเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมของประเทศที่ยิ่งใหญ่นี้ด้วย”
พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และผู้อำนวยการโครงการฯ กล่าวว่า “ช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้ดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน ขั้นตอนแรกและสำคัญที่สุด คือ การดำเนินการอนุรักษ์เรือนโบราณ จำนวน 9หลัง ซึ่งจำนวนเหล่านี้ มีเรือนโบราณ 7 หลังและ 2 ยุ้งข้าว จากจำนวนทั้งหมด14 หลังที่รวบรวมไว้ทั้งหมดของพิพิธภัณฑ์เรือนแห่งนี้ โดยได้รับการอนุรักษ์ซ่อมแซม บูรณะให้แข็งแรง เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตามแผนโครงการฯที่ตั้งไว้ ในขั้นตอนที่สอง ทางรสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตั้งใจจะใช้การอนุรักษ์บูรณะซ่อมแซมเรือนฯในพื้นที่นี้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมให้กับกลุ่มอาสาสมัคร นักศึกษา และผู้เข้าเยี่ยมชม ให้มีส่วนร่วมสังเกตการณ์และเรียนรู้เทคนิคเชิงช่างและสถาปัตยกรรมเรือนในการบูรณะช่อมแชมเรือนไม้โบราณ ซึ่งได้จัดการอบรม workshop ในช่วงปี 2563 เฟสที่หนึ่งและบรรลุผลเป็นที่เรียบร้อย ส่วนขั้นตอนท้ายสุด เพื่อให้มีพื้นที่การนำความรู้ ด้านวิถีชีวิต ภูมิปัญญาเชิงช่างในการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา เป็นบทสรุปโครงการในการเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ นำมาจัดแสดง นิทรรศการ ภูมิปัญญาสล่าสร้างเรือน เพื่อ เผยแพร่ถ่ายทอดให้ความรู้ และเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับผู้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เรือนแห่งนี้ ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ในการเล็งเห็นคุณค่า
สนับสนุนการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเรือนโบราณล้านนาของพิพิธภัณฑ์ฯ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดทั้งเป็นการสนับสนุนงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในการบริการวิชาการ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้ และถ่ายทอดส่งต่อให้คนรุ่นลูกหลานได้อย่างยั่งยืนสืบไป”