9 ผลงานเด่น “ม.แม่โจ้” สร้างคุณค่าเกษตรไทย
เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี 2567 พร้อมกับการกำลังจะมาเยือนของ “งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี” ภายใต้แนวคิด เกษตร อาหาร สุขภาพ ในวันที่ 16-25 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีส่วนหนึ่งของงานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี มานำเสนอ เป็นผลงาน 9 เรื่องเด่น ที่สร้างคุณค่าให้เกษตรไทย ได้แก่ กำเนิดข้าวหอมแม่โจ้ , พันธุ์พืชชื่อพระราชทาน จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี , องค์ความรู้ลำไยแม่โจ้ , กล้วยไม้รองเท้านารี แม่โจ้ 90 ปี , ปทุมมาแม่โจ้ เพื่อเกษตรกรไทย , ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่ , ปลาค้อ , ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากดอกเอื้องคำ และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้
“กำเนิดข้าวหอมแม่โจ้” พัฒนาโดย ศ.ดร.วราภรณ์ แสงทอง หน่วยความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้เริ่มงานปรับปรุงพันธุ์ข้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน เป็นระยะเวลายาวนานร่วม 20 ปีอย่างต่อเนื่อง จนได้พันธุ์ข้าวจำนวนหลายพันธุ์ ได้แก่ กข-แม่โจ้ 2, เจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอ, หอมแม่โจ้ 6, หอมแม่โจ้ 8, หอมแม่โจ้ 16 และหอมแม่โจ้ 17 ซึ่งคุณสมบัติเด่นของพันธุ์ข้าวหอม คือ ต้นเตี๋ย ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นข้าวคุณภาพเพื่อคนไทย ที่ได้ลงแปลงปลูกกระจายไปทั่วประเทศ
“พันธุ์พืชชื่อพระราชทาน” พัฒนาโดย ผศ.ฉันทนา วิชรัตน์ และสาขาพืชผัก โดยคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่ใจ้ได้ถวายงานโครงการปรับปรุงพันธุ์ผักและผลิตเมล็ดพันธุ์ผักให้แก่ศูนย์ฟัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริมาโดยตลอด ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจได้รับพระราชทานนามเป็นพันธุ์พืชใหม่ ได้แค่ พริกขี้หนูปู่เมธ เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร
เบอร์ 1 , ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1 , มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์ , พริกพันธุ์พัฒนฉันท์ , แตงไทยพันธุ์หอมละมุน , ผักกาดหอมห่อสีม่วงช่อผภาพัฒนาเอง , ผักกาด
หอมพันธุ์สลัดสวยงาม , ถั่วฝักยาวพันธุ์เสือเขียว , ถั่วฝักยาวพันธุ์เสือลายพาดกอน , ถั่วฝักยาวพันธุ์เสือดุ และถั่วฝักยาวพันธุ์เสือขาว
“องค์ความรู้ลำไย” โดย ผศ.พาวิน มะโนชัย ซึ่ง ลำไย ขึ้นชื่อว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือ ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาองค์ความรู้และติดชุดเทคโนโลยีใหม่เพื่อการผลิตและการจัดการลำไยอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพดี ต้นทุนต่ำ ปลอดภัย มีการพัฒนาสายพันธุ์ลำไย การพัฒนาเครื่องมือ และเทคโนโลยี เพื่อการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตลำไย ตลอดจนการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดู และสร้างเครือข่ายการผลิตลำไยคุณภาพ เพื่อให้เกษตรกรพัฒนาลำไยให้ได้คุณภาพและปลอดภัย ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดความเสี่ยงของผลผลิตในฤดู
“กล้วยไม้ แม่โจ้ 90 ปี” พัฒนาโดย นายธนวัฒน์ รอดขาว กล้วยไม้รองเท้านารี แม่โจ้ 90 ปี หรือ Paphiopedilum spicerianum ‘Maejo 90 Year’ เป็นกล้วยไม้รองเท้นารีพันธุ์แท้เกิดจากคู่ผสมสไปเซเรียนั่ม “แม่โจ้ 75 ปี” กับสไปเซเรียนั่ม ดอกมีขนาด 9.1 x 9.6 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 5.5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 19.5 เซนติเมตร ดอกมีสี “เขียว ขาว เหลือง” ได้รับเกียรตินิยมระดับ AM/RHT 83.85 คะแนน จากสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชปถัมภ์ ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2561
“ปทุมมา” พัฒนาโดย ผศ. ดร.เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี ปทุมมา เป็นไม้ดอกไม้ประดับเศรษฐกิจ ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 รองจากกล้วยไม้ กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมา “แม่โจกรีมเพิร์ล แม่โจไวท์เพิร์ล แม่โจ้พิงค์เพิร์ล” คือ ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ของโลก ปรับปรุงพันธุ์ให้มีโครโมโซม 3N เป็นหมันแก้ปัญหาต่างชาตินำสายพันธุ์ไปผสมต่อ จดสิทธิบัตร เพื่อให้เกษตรกรได้ผลิตส่งออกทั่วโลก
“ตั๊กแตน แม่โจ้แพร่” ค้นพบโดย รศ. ดร.แหลมไทย อาษานอก จากโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ป่าธรรมชาติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ได้พบตั๊กแตนชนิดหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน หลังจากที่ได้ทำการพิสูจน์ชนิดเรียบร้อยแล้ว จึงพบว่าตั๊กแตนที่พบไม่เพียงแต่เป็นชนิดใหม่ของโลก (new species) แต่เป็นถึงสกุลใหม่
ของโลก (new genus) เพื่อให้เกียรติแก่สถานที่ค้นพบ จึงตั้งชื่อว่า Anasedulia maejophrae หรือ “ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่” เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าการอนุรักษ์ป่าให้คงอยู่ย่อมสามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้เป็นอย่างดี
“ปลาค้อ” ค้นพบโดย รศ. ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ซึ่ง ปลาค้อ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือลำธารที่มีขนาดเล็ก อยู่บนพื้นที่สูง และเป็นดัชนีที่วัดความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งน้ำต่างๆ จากการสำรวจได้ค้นพบปลาค้อชนิดใหม่ของโลก เช่น ปลาค้อเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ปลาค้อลายเสือแม่โจ้ และปลาค้อสมเด็จพระเทพ เป็นต้น นำไปสู่การพัฒนางานวิจัยทางด้านชีววิทยาและชีวประวัติของปลาบนพื้นที่สูงสู่พื้นราบเชื่อมต่อกับระบบนิเวศวิทยาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการทรัพยากรทางน้ำอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความลงตัวที่เท่าเทียมกันของนิเวศวิทยา (Ecology) และผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic) เป็น ECONECO
“ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากดอกเอื้องคำ” พัฒนาโดย ทีมนักวิจัยโครงการ อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และอาหารเสริมสุขภาพจากกล้วยไม้ไทย ซึ่งเป็นพืชอนุรักษ์หนึ่งในเก้าชนิด ภายใต้โครงการ อพ.สร. โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับกล้วยไม้ชนิดเอื้องคำ (Dendrobium chrysotoxum LindL.) โดยใช้การสกัดสารสำคัญป็นน้ำมันหอมระเหยจากดอกเอื้องคำเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์สปา และอาหารเสริมสุขภาพ
และ “นวัตกรรมเชิงพาณิชย์” พัฒนาโดย Agri Inno Excellent Center มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ. ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล หัวหน้า Agri Inno Excellent Center มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำทีมผู้เชี่ยวชาญทำการค้นคว้าทดสอบ ทดลอง เพาะเลี้ยงจุลินทรีย์โพรไบติค 2 สายพันธุ์ จนได้สูตรสำเร็จ ผสมกับ รีไบโอติค จากมัลเบอร์รี่ ข้าวไรซ์เบอรี่ และลำไย จึงกลายเป็น “ซินไบโอติค” functional ingredients for gut health ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มมูลค่าเศษเหลือ การแปรรูปพริกเป็นสารสกัดเชิงหน้าที่ และผลิตภัณฑ์ อาหารสุขภาพ ซึ่งพัฒนาโดย ผศ. ดร.วชิระ ชุ่มมงคล ได้นำสารสกัดพริกในน้ำมันงามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดพริกผสมน้ำมันงาในรูปแบบแคปซูลเจล ตรา “แบลคซิล” และนำสารสกัดพริกมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เจลกระชับผิวกาย ตรา “ซี-ไลท์”