“วัดเชตวัน” วัดน้อง “วัดมหาวัน”

“วัดเชตวัน” อยู่ตรงข้ามกับวัดมหาวันบนถนนท่าแพ โดยหมายถึง วัดที่อยู่ในป่าเล็กๆ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า วัดเชตวันกับวัดมหาวันนี้สร้างขึ้นพร้อมกัน ตามคำบอกล่าต่อกันมาว่า “วัดมหาวันผู้เป็นพี่สร้าง วัดเชตวันผู้เป็นน้องสร้าง” ซึ่ง วัดเชตวัน สร้างขึ้นสมัยราชวงศ์มังราย ในสมัยที่พม่าปกครองล้านนา

ลักษณะเด่นภายในวัดประกอบไปด้วย

“วิหาร” ซึ่งแปลกกว่าวิหารวัดอื่นๆ เนื่องด้วยวิหารของวัดเชตวันจะวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ แตกต่างจากวัดอื่นที่วางตัวในแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เนื่องด้วยบริเวณวัดมีพื้นที่ ในวิหารประดิษฐานพระประทานสามองค์ องค์กลางเป็นพระพุทธรูปศิลปะพม่า (ไม่มีชฎา) ส่วนองค์ซ้ายและองค์ขวาเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบไทย (มีชฎา) พระพุทธรูปเชียงแสนทองเหลืองประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ด้านหลังพระประทานทั้งสามองค์ เป็นจิตรกรรมฝาผนังรูปซุ่มเรือนแก้วสวยงาม ส่วนผนังด้านอื่นๆเป็นจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติ

“เจดีย์” เป็นเจดีย์สามองค์ศิลปะแบบพม่า สันนิษฐานว่าคหบดีของพม่า (เงี้ยว) คือ บุเรงนองมาสร้างไว้ เพราะลักษณะของทรงเจดีย์คล้ายกับเจดีย์ชเวดากองของพม่า ซึ่งภายในเจดีย์ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีเจดีย์กี่องค์ เพราะพม่าได้สร้างเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบทับไว้และได้บูรณะเมื่อปี พ.ศ.2517 และเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2545 ยอดเจดีย์ได้หักลงมาเนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้เกิดฟ้าฝ่า ซึ่งเป็นเหตุมหัศจรรย์ที่ปลายเจดีย์ของวัดมหาวันก็เกิดหักลงมาพร้อมกัน

วัดเชตวัน ยังเป็นสถานที่จำพรรษาของอดีตพระมหาเถระ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ มีตำแหน่งเป็นพระราชาคณะถึง 3 รูปด้วยกัน คือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระอภัยสารทะ (ก้อนแก้ว อนุทจกุโก) อดีตเจ้าคณะเชียงใหม่รูปที่ 3 , พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมงคลราชมุนี (สมบูรณ์ จนุทวํโส) อดีตเจ้าคณะเชียงใหม่รูปที่ 6 และพระปลัดโกศล หรือ หลวงพ่อพระครูมงคลสีลวงค์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *